วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ห้องสมุดมีชีวิต





ภาพนี้จาก http://www.siced.ac.th/lib/index.php?name=anfe24

ห้องสมุดมีชีวิต

               ห้องสมุดมีชีวิต (Living library) หมายถึง ห้องสมุดที่มีการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้ทันสมัยครบถ้วน สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และสร้างนิสัยรักการอ่านยั่งยืนสำหรับทุกเพศทุกวัย ด้วยบรรยากาศที่มีชีวิตชีวา มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเรียนรู้ สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีบริการและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

รูปแบบของห้องสมุดมีชีวิต

            การจัดห้องสมุดให้มีชีวิตชีวา มีการเคลื่อนไหว และมีความก้าวหน้าอย่างมีคุณภาพนั้นมีแนวทางการจัดห้องสมุดในมิติต่างๆ ดังนี้

            1. ห้องสมุดที่เน้นมิติ ผู้เรียนสำคัญที่สุดซึ่งมีแนวคิดว่า ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ประสบผลสำเร็จได้ จะต้องได้รับการสนับสนุนจากบุคคลที่เกี่ยวข้องตามภารกิจและหน้าที่ จึงควรดำเนินการจัดสภาพอันพึงประสงค์เพื่อให้บริการที่ดีที่สุดสำหรับผู้เรียนได้ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้พัฒนาศักยภาพตนเองสูงสุด โดยการดำเนินงานตามมาตรฐานที่กำหนดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ดังนี้

                        1.1 ดำเนินการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้ได้มาตรฐานโดยประเมินตรวจสอบตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
                        1.2 ให้บริการสนับสนุนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นการเรียนใน 1 ชั่วโมง 1 วัน 1 สัปดาห์ 1 โครงงาน 1 ภาคเรียน หรือ 1 ปีการศึกษา
           
2. ห้องสมุดที่เน้นมิติ แห่งภูมิปัญญาไทยมีแนวคิดว่าห้องสมุดโรงเรียนเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนางานและอาชีพ ตลอดจนการศึกษาอย่างต่อเนื่องห้องสมุดต้องรวบรวม อนุรักษ์ และให้บริการภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมไทย โดยดำเนินการดังนี้

                        2.1 ต้องให้ความรู้ทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ในเรื่องต่างๆ ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
                        2.2 ห้องสมุดต้องรวบรวมสื่อทุกรูปแบบที่ทำให้ข้องมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สังคมไทย วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำมาจัดนิทรรศการตามโอกาส
                        2.3 จัดกิจกรรมให้ความรู้และเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น จัดบรรยาย อภิปราย นิทรรศการ สาธิต ทัศนศึกษา โดยเชิญปราชญ์ชาวบ้านมาเป็นวิทยากร
                        2.4 รวบรวมองค์ความรู้ที่ยังไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร จัดเก็บอย่างเป็นระบบและให้บริการ
                        2.5 พัฒนางานเทคนิคในการให้เลขหมวดหมู่ และทำรายการให้สอดคล้องกับเนื้อหา สาระทางภูมิปัญญาไทย

            3. ห้องสมุดที่เน้นมิติ สะดวกใช้ในรูปของห้องสมุดอัตโนมัติและห้องสมุดดิจิตอล

                        3.1 ห้องสมุดอัตโนมัติ โดยนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานห้องสมุดในส่วนงานบริหาร งานเทคนิค และงานบริการ

ภาพที่ 3.1 จาก https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgEqv_e9RsJSkYZZzTPIc_I_BxZA55kVfJmP9pYGOwVo_x0MoY2wwpxqsEgm5dfZCq9Thr1hH3qlUf6bCWud7dsmLoMlWXqR0_n7XEj2WCth9WGGWqZQSHqbX5dgngy8_t4bX4kSKWjsek/s320/library1.jpg

                        3.2 ห้องสมุดดิจิตอล โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานสืบค้นข้อมูลจากซีดีรอมหรือจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E – Book )


ภาพที่ 3.2 จาก http://www.marketplus.in.th/UserFiles/Image/new1/Content%20(1).jpg

            4. ห้องสมุดที่เน้นมิติ สุนทรียภาพสุนทรียภาพเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้คนเป็นคนที่สมบูรณ์ ทำให้คนเกิดความซาบซึ้ง มองเห็นคุณค่าของความดีงาม มีจิตใจสงบ มีสมาธิ มีจินตนาการ สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาสุนทรียภาพมีวิธีการ ดังนี้

                        4.1 พัฒนาสุนทรียภาพด้วยการเลียนแบบ โดยใช้ทฤษฎีความเหมือน คือ ต้นแบบให้มีการลอกเลียนแบบและการกระทำซ้ำโดยการเรียนรู้และถ่ายทอดจากการได้ยิน ได้เห็น ได้สัมผัส และอาศัยการเลียนแบบ ห้องสมุดจึงควรจัดหาสื่อสารสนเทศที่สามารถเป็นแบบที่ดีจัดกิจกรรมที่ได้ทำซ้ำ เช่น ฟังแล้วฟังอีก อ่านแล้วอ่านอีก พูดแล้วพูดอีก เขียนแล้วเขียนอีก เปิดโอกาสให้กระทำซ้ำจนเกิดความประทับใจ และนำไปเป็นแบบอย่าง
                        4.2 พัฒนาสุนทรียภาพด้วยการค้นหาสิ่งใหม่ โดยใช้ทฤษฎีความแตกต่าง เพื่อความตื่นเต้นและมีชีวิตชีวาเพื่อให้ทันกับเหตุการณ์หรือสมัยนิยม แต่งเติมความเป็นตนเองลงไปในงาน เป็นการแสวงหาทิศทางใหม่ให้กับตนเอง ห้องสมุดจึงต้องช่วยเปิดโลกทัศน์ของนักเรียนให้มีโอกาสเรียนรู้ในวงกว้างจากสรสนเทศที่หลากหลาย และร่วมกิจกรรมประกวดต่างๆ
                        4.3 พัฒนาสุนทรียภาพโดยการสร้างจินตนาการ โดยใช้ทฤษฎีความเป็นตนเอง ผู้เรียนได้ค้นพบตนเองว่ามีความถนัด ความสามารถในเรื่องใดจึงได้ปฏิบัติจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ ผู้เรียนจะปฏิบัติงานอย่างมีความสุขตามจินตนาการ ห้องสมุดจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการแสดงผลงานที่เกิดขึ้นจากความคิดและจินตนาการของตนเองในลักษณะการจัดนิทรรศการแสดงผลงานนักเรียน การเผยแพร่ผลงาน และการมอบรางวัล

            ดังนั้น รูปแบบของห้องสมุด จะเป็นไปตามสภาพของห้องสมุดแต่ละแห่ง เพราะมีความพร้อมแตกต่างกัน การพัฒนาห้องสมุดเดิมให้กลายเป็นห้องสมุดมีชีวิต เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจ และผู้ให้บริการมีความสุข อาจทำได้ดังนี้

            1. ต้องรู้สภาพปัจจุบันของห้องสมุดตนเอง

            2. รู้จักผู้มาใช้บริการ เป็นใคร เขาพอเข้าใจแล้วหรือยัง ทำอย่างไรให้เขาพอใจเพิ่มมากขึ้น

            3. ชักจูงคนให้เข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น

            4. พยายามให้คนอยู่ใช้ห้องสมุดให้มากที่สุด มีวารสารและหนังสือเพียงพอแก่ความต้องการของผู้ใช้ มีบริการและกิจกรรมหลากหลายรูปแบบให้ผู้ใช้มีความสุขสนุกสนานและได้รับประโยชน์จากห้องสมุด

            5. การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเรียนรู้ และสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก จะต้องพิจารณาตามกำลังความสามารถของห้องสมุดตนเอง

น้ำทิพย์ วิภาวิน.  ห้องสมุดมีชีวิต.  พิมพ์ครั้งที่2.  นนทบุรี:ห้างหุ้นส่วนจำกัดรุ่งโรจน์อินเตอร์กรุ๊ป,  
           2548. น.75-89.




การบริการสารสนเทศ





    ภาพนี้จาก http://www.thebookwave.com/news_detail.php?id=46

ประเภทบริการสารสนเทศ
          
              การบริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้เป็นเป้าหมายสำคัญของการดำเนินงานห้องสมุดต่างๆที่จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ห้องสมุดยังให้มีกิจกรรมการบริการสารสนเทศหลายประเภทเพื่อเป็นการช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการ ได้แก่

          1.บริการยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศ (Circulation Service) จัดขึ้นเพื่อที่จะได้อำนวยความสะดวกในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกสถานที่

            2.บริการอ่าน (Reading Service) เป็นบริการที่สำคัญ เพราะมีผลกระทบต่อการจัดบรรยากาศในสถานที่เป็นอย่างมาก

            3.บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า (Reference Service) จัดเป็นหัวใจของการดำเนินงานห้องสมุด ดังนั้นการบริการให้บริการตบคำถามและช่วยค้นคว้าจึงสร้างความอบอุ่นใจให้กับผู้ใช้บริการได้มาก

            4.บริการยืมระหว่างสมุด เป็นบริการที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก ส่วนมากบริการยืมระหว่างห้องสมุดจะกระทำกันระหว่างห้องสมุดในระดับเดียวกันเท่านั้น หรือห้องสมุดที่มีลักษณะคล้ายกัน

         5.บริการสารสนเทศเลือกสรร จัดขึ้นเพื่อให้บริการทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น จัดทำบรรณานุกรมเฉพาะวิชา การถ่ายหน้าสารบัญวารสารใหม่และบริการเวียนวารสารฉบับย้อนหลัง เป็นต้น

         6.บริการข่าวสารทันสมัย เป็นบริการที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อบริการสารสนเทศบางประเภท เช่น บริการบรรณานุกรมและดัชนีวารสารใหม่ บริการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศใหม่ๆ เป็นต้น

         7.บริการค้นคืนสารสนเทศ จัดบริการในห้องสมุดสถาบันศึกษา และศูนย์สารสนเทศส่วนใหญ่ จะเน้นเฉพาะการค้นคืนข้อมูลทางบรรณานุกรมเป็นหลัก

         8.บริการสำรอง เป็นบริการที่เกี่ยวพันกับบริการยืม – คืน มีวิธีการปฏิบัติเพิ่มเติมเป็นพิเศษ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภทร่วมกัน

         9.บริการพิมพ์เอกสาร ห้องสมุดบางแห่งมีการรับพิมพ์เอกสาร รายงานเพื่อไว้บริการแก่นักศึกษา หรือผู้มาใช้บริการ โดยผู้ใช้บริการต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง

         10.บริการส่งเสริมการใช้ กิจกรรมส่งเสริมการใช้ ช่วยให้ผู้ใช้รับรู้และรับทราบถึงเรื่องราวเหตุการณ์กิจกรรมหลายอย่างที่จัดอยู่ในประเภทการส่งเสริมการใช้ เช่น การจัดนิทรรศการห้องสมุด นิทรรศการทางวิชาการ เป็นต้น

ฉัตรรัตน์ เชาวลิต.  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ : การบริการสารสนเทศ. กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยเกริก,   
           2547. น.87-89

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บุคลากรของสถาบันบริการสารสนเทศ



บุคลากรของสถาบันบริการสารสนเทศ

            1.บรรณารักษ์ เป็นตำแหน่งงานที่ราชการกำหนดไว้สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาตรีทางบรรณารักษศาสตร์หรือสารสนเทศศาสตร์ โดยทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ จัดหา วิเคราะห์ และให้บริการเผยแพร่ สารสนเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้านความสะดวก ถูกต้อง และรวดเร็วตรงกับความต้องการในการนำไปใช้อ้างอิงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
          
            2.นักเอกสารสนเทศ เป็นตำแหน่งในห้องสมุดมหาวิทยาลัยและศูนย์สารสนเทศ เกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในห้องสมุดและวิชาชีพ เช่น ประเภทและรูปแบบทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสะสมความต้องการของผู้ใช้ การขยายตัวและความลึกซึ้งของศาสตร์สาขาวิชาต่างๆ และความเฉพาะเจาะจงของเนื้อหาวิชา ทำให้ห้องสมุดมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้และทักษะต่างๆของแต่ละคน
            
            3.นักจดหมายเหตุ โดยทั่วไปเป็นผู้มีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รับผิดชอบการบริหารงานจดหมายเหตุ
            
            4.ภัณฑารักษ์ ผู้รับผิดชอบงานในหน้าที่ของพิพิธภัณฑสถานแต่ละแห่ง มีความรู้เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์ มนุษยศาสตร์ โบราณคดี การศึกษา วิทยาศาสตร์ หรือธรณีวิทยา สาขาพิพิธภัณฑ์เฉพาะเรื่อง
            
            5.ตำแหน่งอื่นๆ เช่น หน่วยงานราชการมีนักวิชาการศึกษา นักวิชาการโสตทัศนศึกษา นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักวิจัย และวิทยากร ส่วนภาคเอกชน เช่น นักสารสนเทศ ผู้เชี่ยวชาญสารสนเทศ นักวิจัย และนักเอกสาร เป็นต้น
            
             นอกจากนี้ บุคลากรสารสนเทศในสถาบันบริการสารสนเทศยังมีกลุ่มผู้ปฏิบัติงานกึ่งวิชาชีพ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้วิชาชีพในระดับต้น เช่น เจ้าหน้าที่ห้องสมุดด้วย

ฉัตรรัตน์ เชาวลิต.  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ : แหล่งบุคลากรสารสนเทศ กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยเกริก, 2547. น.100-101.


วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Single ใหม่ในสไตล์ R&B






ปล่อยให้แฟนๆต้องรออยู่กว่า1ปี หลังจากแยกย้ายกับเพื่อนๆสมาชิกวงแคลชไป ล่าสุด “แบงค์” ปรีติ บารมีอนันต์ หรือในชื่อใหม่หัวใจเดิมว่า ‘BANKK CA$H ’(อ่านว่า แบงค์-แคช) กลับมาอีกครั้งกลับรูปแบบแนวเพลงที่ชอบ แนวทางที่ใช่ กับซิงเกิ้ลใหม่ในสไตล์ R&B ครั้งแรก “Love me, Touch me, Kiss me”


  

ประวัติส่วนตัว bankkcash




แบงค์

ชื่อ - นามสกุล : ปรีติ บารมีอนันต์

ตำแหน่ง : ร้องนำ (วง CLASH )

ปัจจุบันศิลปินเดี่ยว ชื่อ BANKK CASH

สังกัด : UP ^ G ค่าย DUCK BAR

วัน/เดือน/ปีเกิด : 20 ตุลาคม 2525

เชื้อชาติ/สัญชาติ : ไทย/ไทย

ส่วนสูง/น้ำหนัก : 178 ซม. / 64 กก.

การศึกษา : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ